1096 จำนวนผู้เข้าชม |
นิ้วอวัยวะที่เป็นส่วนจำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่านิ้วมือถือว่าเป็นอวัยวะที่เราใช้งานในทุกๆ วันตั้งแต่การตื่นนอนการรับประทานอาหารการทำงานการเรียนหนังสือทุกกิจกรรมล้วนต้องใช้นิ้วมือในการประกอบกิจกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กใช้มือในการเขียนหนังสือหรือการทำการบ้าน ผู้ใหญ่ใช้นิ้วมือในการพิมพ์งานหรือทำเอกสารต่างๆ ส่งให้กับหัวหน้า แม่บ้านใช้นิ้วมือในการจับของซื้อของหรือการประกอบอาหารและทุกอาชีพบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่ต้องใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่างๆ
ดังข้างต้นนี้เราจะเห็นว่านิ้วมือมีความสำคัญต่อเราเป็นอย่างมากแต่บางคนมีกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร้ายนิ้วมือของตนเองอย่างไม่รู้ตัวโดยอาจจะเกิดผลเสียที่รุนแรงตามมาภายหลังก็เป็นได้โดยอาการที่เกิดและพบได้บ่อยกับนิ้วมือของคนเราคืออาการนิ้วล็อค ซึ่งอาการนิ้วล็อคนั้นเกิดจากพังผืดนั้นยึดเอ็นในส่วนของนิ้วมือไว้ทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือมีความติดฝืดมากขึ้นโดยอาจจะทำให้เกิดอาการบวมและอาการปวดได้
โดยอาการของโรคนิ้วล็อคนั้นสามรถแบ่งออกตามอาการได้เป็น 4 ระยะดังนี้
1.ระยะเริ่มแรก มีอาการปวดในบริเวณฐานนิ้วเมื่อเอานิ้วกดในบริเวณฐานนิ้วจะมีอาการปวด
2.ระยะที่สอง จะมีอาการสะดุดในระหว่างการขยับนิ้วได้โดยจะมีอาการปวดเพิ่มขึ้นการงอนิ้วหรือยืดนิ้วมีอาการฝืดเพิ่มมากขึ้น
3.ระยะที่สาม เกิดอาการนิ้วล็อคโดยไม่สามารถทำการเหยียดนิ้วออกได้ด้วยตัวเองจะต้องใช้นิ้วอีกข้างในการแกะออกโดยในบางคนไม่สามารถที่จะยืดนิ้วออกได้เลย
4.ระยะที่สี่ โดยในระยะนี้จะมีความรุนแรงมากคือเกิดอาการบวมโดยนิ้วอาจจะเกิดอาการบวมขยับไม่ได้ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้
วิธีการรักษานั้นโดยในระยะแรกๆ แพทย์อาจจะให้รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสียรอยด์เพราะจะมีผลข้างเคียงที่อันตรายและรุนแรงแต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดจากแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมแล้วแต่คนไข้แต่เพื่อป้องกันการผ่าตัดและการกินยาต่างๆ เราควรจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ้วล็อคด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมที่ใช้นิ้วมืออย่างหนักไม่ว่าจะเป็นการบิดผ้าจำนวนมากๆ การตัดหญ้าโดยไม่ใช้ถุงมือ การทำงานที่หนักเกินไปจนไม่ได้พักการใช้นิ้วมือซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาของโรคนิ้วล็อคตามมาได้