หน้าที่ของกลูโคซามีน ในการผลิตสารสำคัญต่างๆ

1646 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หน้าที่ของกลูโคซามีน ในการผลิตสารสำคัญต่างๆ

อะไรคือกลูโคซามีน

การที่ร่างกายของเราสามารถสร้างสารกลูโคซามีนได้เป็นปกตินั้นก็จะทำให้สภาพร่างกายของเรามีความแข็งแรงสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 

กลูโคซามีน คืออะไร ?

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างเกี่ยวกับกลูโคซามีนแต่มีน้อยคนที่จะรู้จักจริงๆ ว่าเจ้าตัวกลูโคซามีนคืออะไร กลูโคซามีนคือสารประกอบประเภทน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวโดยเจ้าตัวกลูโคซามีนนั้นเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเจ้าตัวสารโมเลกุลใหญ่ต่างๆ อย่างเช่น โปรตีโอไกลแคน,ไกลโคโปรตีน,ไกลโคสามิโนและไกลเคนเป็นต้นและนอกจากนั้นกลูโคซามีนยังมีหน้าที่ที่สำคัญอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของมนุษย์คือผลิตน้ำหล่อเลี้ยงข้อและกระดูกอ่อน
 กลูโคซามีน

กระดูกอ่อนและน้ำหล่อเลี้ยงข้อกระดูกนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของมนุษย์เราเพราะในกระดูกอ่อนนั้นจะมีน้ำหล่อเลี้ยงซึ่งสามารถดึงน้ำเข้ามาหาตัวกระดูกเองได้จึงทำให้กระดูกในบริเวณนั้นมีความยืดหยุ่นทำให้เราสามารถขยับร่างกายในบริเวณนั้นๆ ได้ง่ายไม่มีอาการฝืดของการเคลื่อนที่ของกระดูกโดยสารกลูโคซามีนั้นจะพบได้มากในกลุ่มของวัยเด็กและวัยรุ่นจึงทำให้ในกลุ่มของวัยเด็กและวัยรุ่นนั้นไม่มีอาการของข้อเข่าเสื่อมหรือกระดูกมีปัญหามากนัก
 กลูโคซามีน

แต่เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้นจะทำให้การทำงานของเซลล์ที่ผลิตเจ้าตัวกลูโคซามีนมีประสิทธิภาพน้อยลงทำให้เกิดอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อหรือในกระดูกส่วนที่ข้อพับได้มากถ้าข้อพับในบริเวณนั้นถูกใช้งานมากๆแต่ไม่ได้รับสารกลูโคซามีนที่เพียงพออาจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการกระดูกเสื่อมลงได้ โดยเจ้าสารกลูโคซามีนนั้นสามารถพบได้ทั่วไปในร่างกายของมนุษย์เราแต่ในปัจจุนั้นก็มีการสร้างสารกลูโคซามีนมาให้สำหรับกลุ่มของผู้สูงอายุโดยส่วนมากแล้วจะผลิตมาจากส่วนประกอบของสัตว์ที่มีเปลือกอย่างเช่น เปลือกหอย,ปูและกุ้ง
 กลูโคซามีน

โดยสำหรับผู้สูงอายุที่กำลังรับประทานอาหารเสริมจำพวกกลูโคซามีนนั้นอาจจะมีผลข้างเคียงบางประการอย่างเช่น คลื่นไส้,จุก,แน่นท้อง,ปวดท้อง,วิงเวียนศีรษะหรือมีผดผื่นขึ้นตามตัว โดยในบางการศึกษาพบว่าในกลุ่มของผู้ป่วยนั้นถ้าหากได้รับสารกลูโคซามีนในปริมาณที่มากและติดต่อกันเป็นเวลานานอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้นั่นก็คือทำให้ความดันของตาขึ้นสูงอาจจะมีโอกาสเสี่ยเป็นต้อหินได้ โดยการใช้สารสังเคราะห์หรืออาหารเสริมต่างๆนั้นควรจะทำการศึกษาให้ดีเสียก่อนเพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ใช้ยาในบางกลุ่ม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้